ปัจจุบันเครื่องสำอางมีความสำคัญมาก สาวๆอย่างเรารู้กันว่าในการจะเลือกซื้อเครื่องสำอาง หรือสกินแคร์ต่างๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เราต้องใส่ใจรายละเอียดที่อยู่บนฉลากเครื่องสำอางเป็นสิ่งที่มีความสำคัญโดยการเลือกซื้อเครื่องสำอางที่ระบุรายละเอียดบนฉลากอย่างครบถ้วนหรือไม่ ปลอดภัยเชื่อถือได้หรือไม่ ควรดูอะไรบ้าง?

ข้อบังคับเกี่ยวกับฉลากเครื่องสำอาง

ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 และ ประกาศเรื่องฉลากเครื่องสำอาง พ.ศ.2562
ได้กำหนดว่า ฉลากของเครื่องสำอางที่ขายในประเทศต้องใช้ข้อความภาษาไทย มีขนาดที่สามารถอ่านได้ชัดเจน และอาจมีภาษาต่างประเทศด้วยได้

วิธีอ่าน ฉลากเครื่องสำอางง่ายๆ ต้องดูอะไรบ้าง
เราจึงควรทำความรู้จักเครื่องสำอางและควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าบนฉลากมีข้อความดังต่อไปนี้หรือไม่?

1.ชื่อทางการค้า เป็นจุดเด่นที่ีทำให้บริโภค จดจำสินค้านั้นๆได้ (ชื่อตามเลขจดแจ้ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

2.ชื่อเครื่องสำอาง ต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่นๆ  (ชื่อผลิตภัณฑ์ตามเลขจดแจ้ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

3.ประเภท หรือชนิดของเครื่องสำอาง เพื่อแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย ครื่องสำอางนี้เป็นผลิตภัณฑ์อะไร ใช้เพื่ออะไรของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย, ผลิตภัณฑ์กันแดด เป็นต้น

4.วิธีใช้ ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นๆ สามารถใช้อย่างไรให้และปริมาณใช้ที่เหมาะสม  เช่นครีมกันแดดควรทาก่อนออกแดดอย่างน้อย 15-30 นาที หรือครีมตัวไหนใช้ในเวลากลางคืน

5.ส่วนประกอบสำคัญ (ชื่อสารทุกชนิดที่เป็นส่วนผสม) ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์มากหากเราใช้เครื่องสำอางแล้วเกิดอาการแพ้ ระคายเคือง จะได้จดจำไว้เป็นข้อมูลส่วนตัวว่าแพ้สารประเภทใดหรือ ถ้าทราบว่ามีประวัติแพ้สารใดมาก่อน ก็สามารถตรวจสอบรายละเอียดของส่วนประกอบในเครื่องสำอางก่อนซื้อ เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงสารเคมีที่แพ้ได้ง่ายขึ้น

6.คำเตือน และคำแนะนำ (ถ้ามี )เครื่องสำอางบางประเภทจะต้องแสดงคำเตือนที่ฉลากด้วยเนื่องจากผลิตภัณฑ์นั้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงข้อควรระวังในการใช้เครื่องสำอางนั้นๆ เช่น ให้หยุดใช้เมื่อเกิดอาการระคายเคือง และควรพบแพทย์ทันที

7.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ต้องระบุชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางผลิตในประเทศ / ชื่อ ที่ตั้งของผู้นำเข้า และ ชื่อผู้ผลิต ประเทศที่ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งสามารถติดตามและตรวจสอบได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

8.เลขที่ใบรับแจ้ง บนฉลากเครื่องสำอาง เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นได้มาแจ้งรายละเอียดตามข้อกำหนดกับสำนักงานคณะกรรมการ หรือ อย. เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถใช้เลข 10 หลักในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้

9.วันเดือนปีที่ผลิต การแจ้งวันเดือนปีที่ผลิต เพราะทำให้ทราบถึงอายุของผลิตภัณฑ์ นั้นว่าผลิตมานานแค่ไหน

10.วันเดือนปีที่หมดอายุ การแจ้งวันเดือนปีที่หมดอายุจะทำให้ทราบถึงอายุของผลิตภัณฑ์ 

11.เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต การแจ้งครั้งที่ผลิตจะทำให้ทราบถึงรุ่นที่ทำการผลิต เช่น ในกรณีที่ต้องอ้างอิงสินค้าที่เกิดปัญหาขึ้น

12.ปริมาณสุทธิ บอกปริมาณของตัวสินค้า โดยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำหน่ายในประเทศไทย มีทั้งที่ใช้หน่วยวัดเป็น กรัม (g.) และ มิลลิลิตร (ml.)

13ข้อความอันจำเป็นอื่นๆ (ถ้ามี)

ตัวย่อบอกอะไร?

บนฉลากเครื่องสำอางเราจะเห็น ตัวย่อบนฉลากที่ระบุด้านหลังของผลิตภัณฑ์ เราควรรู้จักคำย่อเหล่านั้นเพื่อความใจในการอ่านข้อมูล
ตัวย่อไหนมีความหมายคืออะไร เรามีดูกัน!

MFG/MFD หมายถึง วันที่ผลิต (ย่อมาจาก Manufacturing date / Manufactured Date)
EXP/EXD หมายถึง วันหมดอายุ (ย่อมาจาก Expiry Date / Expiration Date)
BB/BBE หมายถึง ควรบริโภคก่อนวันที่ (ย่อมาจาก Best Before / Best Befire End)
NO. หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิต 

สัญลักษณ์บอกอะไร?

เรามักจะเห็นสัญลักษณ์หลังผลิตภัณฑ์ โดยแต่ละสัญลักษณ์ก็จะมีความหมายไม่เหมือนกัน เลือกซื้อเครื่องสำอางอย่าลืมสังเกตดูกันนะ โดยที่มักจะเห็นบ่อยมีดังนี้

สัญลักษณ์ PAO (Period After Opening) หมายถึง อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์หลังจากเปิดใช้ครั้งแรก โดยจะระบุเป็นจำนวนเดือน และมีตัวเลขกำกับไว้ ตามด้วย M (month) ซึ่ง PAO จะแตกต่างจาก Expire Date ที่เป็นวันหมดอายุของเครื่องสำอางที่ยังไม่เคยเปิดใช้

สัญลักษณ์ Estimated Symbol หมายถึงปริมาตรของสินค้าที่บรรจุ โดยไม่นับรวมน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์เข้าไป สาวๆจะมั่นใจได้ว่าถ้าข้างขวดบอกว่าปริมาตร 15 g 

 

สัญลักษณ์ Trash Symbol หมายถึง ที่มุ่งหวังให้ผู้ใช้กำจัดขยะอย่างถูกต้อง

 

สัญลักษณ์ Further Information หมายถึง ผู้ใช้ควรอ่านฉลากให้ละเอียดก่อนใช้ เพราะอาจมีคำเตือนหรือข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์ระบุอยู่ที่ฉลากเพิ่มเติมในกล่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจจะเป็นกระดาษแผ่นพับเล็กๆ หรือรูปแบบอื่นๆ